โรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ

หมู่ที่ 2 บ้านห้วยเดื่อ ตำบลน้ำไผ่
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 53110
โทร. 082-2286524
LOGO_OBEC
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
director


ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านห้วยเดื่อจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2486 ซึ่งนายอำเภอเป็นผู้จัดตั้ง เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยอาศัยอาคารชั่วคราวอยู่ทางทิศเหนือของวัด ( สำนักสงฆ์)บ้านห้วยเดื่อ ต่อมาในปีพ.ศ. 2508 วันที่ 18 กันยายนพ.ศ. 2508 กองรบพิเศษพลล่มป่าหวาย ลพบุรี ได้ให้ความช่วยเหลือโดยจัดการต่อโรงเรียนออกไปทางด้านหลังของตัวอาคาร ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้โอนโรงเรียนประชาบาลกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ในปีพ.ศ. 2513 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยมาจัดสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ในที่ดินสาธารณะของหมู่บ้านมีเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้รับโอนการศึกษาประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระทรวงมหาดไทยไปขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีนายดุสิตพิมพ์ทอง ดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ

วิสัยทัศน์โรงเรียน

โรงเรียนสภาพแวดล้อมสวยเด่นเป็นสง่า เป็นองค์หลักในการจัดการศึกษาที่เข้มแข็ง
นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้
ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนเป็นคนดี เก่ง มีความสุข

พันธกิจ

  1. จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนให้ครอบคลุมด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่เหมาะสม ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตใจให้แข็งแรงสมบูรณ์
  2. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ผลิตสื่อ ใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลง มีศักยภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน
  3. เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสอดคล้องตามมาตรฐานการศึกษา

    เป้าประสงค์ (GOALS)
    1. นักเรียนทุกคนเป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
    2. นักเรียนได้รับการพัฒนาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีโอกาสแสดงความสามารถเข้าร่วม
      กิจกรรมการแข่งขันและได้รับรางวัลในระดับต่างๆ
    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
    4. ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
    5. นักเรียนทุกคนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
    6. โรงเรียนเป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธาของชุมชน